วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553

ประวัติหลวงพ่อปาน

ประวัติหลวงพ่อปาน หากจะอ่านให้สนุกและละเอียด คือหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน ที่พิมพ์ขึ้นจากการเล่าของหลวงพ่อฤาษีลิงดำแห่งวัดจันทาราม จ.อุทัยธานี ซึ่งท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อปาน โสนันโท แห่งวัดบางนมโค หนังสือนี้ไม่มีขาย เล่มโต อยากได้คงต้องหาจากแผงหนังสือเก่า ผมก็ได้มาด้วยวิธีนี้ ท่านเล่าไว้สนุก เพราะเล่าเกี่ยวกับตัวหลวงพ่อฤาษีลิงดำเอง กับเล่าถึงเรื่องของหลวงพ่อปาน เกี่ยวข้องกันไป อ่านแล้วสนุกและได้ความรู้ทางธรรมะไปด้วย
ส่วนประวัติย่อของหลวงพ่อปาน โสนันโท มีดังนี้
หลวงพ่อปานถือกำเนิดที่ย่านวัดบางนมโค เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๑๘ เป็นบุตรชายคนเล็ก ครอบครัวมีอาชีพทำนา สาเหตุที่ท่านได้รับการตั้งชื่อว่า "ปาน" เนื่องจากท่านมีปานแดงที่นิ้วก้อยมือซ้าย ตั้งแต่โคนนิ้วถึงปลายนิ้ว นับว่าแปลก ไม่มีใครมีแบบนี้
หลวงพ่อปานอุปสมบทเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๘ โดยมีหลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล อยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้ฉายา "โสนันโท"
เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้เข้ามาอยู่ที่วัดบางปลาหมอ โดยมีหลวงพ่อสุ่นเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานวิปัสสนา พุทธาคมต่าง ๆ โดยเฉพาะในด้านการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ ตลอดจนผู้คนที่ถูกคุณไสย หลวงพ่อสุ่นถ่ายทอดวิชาให้จนหมดสิ้น จากนั้นไปเรียนพระปริยัติธรรมและภาษาบาลีกับอาจารย์จีน วัดเจ้าเจ็ด ๒ ปี และไปเรียนต่อที่วัดสระเกศ ที่กรุงเทพ ฯ อีกจนจบอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ใช้เวลาอยู่กรุงเทพ ฯ ๕ ปี ขณะที่อยู่กรุงเทพ ฯ ไปเรียนวิชาแพทย์แผนโบราณเพิ่มเติมอีก โดยเรียนที่วัดสังเวช บางลำพู
ต่อมาไปเรียนด้านกรรมฐานเพิ่มเติมจากหลวงพ่อเนียม วัดน้อย อำเภอบางปลาม้า
ไปศึกษาเพิ่มเติมกับหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน อำเภอสองพี่น้อง สุพรรณบุรี หลวงพ่อโหน่งนี้เล่ากันว่า ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ผู้ที่จะทราบว่าท่านสำเร็จจริงหรือไม่ก็ต้องเป็นพระอรหันต์ด้วยกัน ปัจจุบันรูปเหมือนของหลวงพ่อโหน่ง อยู่ในมณฑปวัดอัมพวัน วัดนี้ไปตามถนนสาย ๓๔๐ ที่ไปสุพรรณบุรี แล้วแยกไปทางวัดไผ่โรงวัว อยู่เลยวัดไผ่โรงวัวของหลวงพ่อขอมไป ถนนเส้นนี้เลยต่อไปยังสุพรรณบุรี เข้าทางถนนมาลัยแมนได้ เลยเอามาบอกไว้ด้วย
วิชาการสร้างพระเครื่อง เรียนจากชีปะขาว ที่สร้างพระเครื่อง ๖ พิมพ์ดังได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งชีปะขาวได้มาพบหลวงพ่อในขณะที่เจริญฌานอยู่ในป่าช้าวัดบางนมโค และบอกให้วันละพิมพ์ แต่วิชาการปลุกเสกนั้นหลวงพ่อได้รับการถ่ายทอดวิชาจากอาจารย์แจงฆราวาสที่สวรรคโลก เป็นตำราของพระร่วงเจ้า การสร้างพระครั้งแรกของหลวงพ่อปานทำ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐ เพื่อหาทุนมาสร้างเจดีย์ใหม่แทนเจดีย์องค์เดิมซึ่งคือ เจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเอาไว้ เจดีย์เดิมชำรุดทรุดโทรมพังลงมาแล้ว มรดกอันมีค่าของหลวงพ่อปานที่ท่านให้ไว้ได้แก่
๑. พระหลวงพ่อปาน คือพระผง ๖ พิมพ์
๒. ผ้ายันต์, ยันต์เกราะเพชร
๓. พระคาถาพระปัจเจกะโพธิ์

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การเก็บรวบรวมข้อมูล
การประมวลผล การแสดงผลลัพธ์ การทำสำเนา และการสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อให้ได้สารสนเทศที่
เหมาะสมและสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
ที่มาhttp://www.chakkham.ac.th/technology/techno1/c2-3.htm

ความสำคัญและบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีพัฒนาการที่เจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว มีการปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้ที่เป็นประโยชน์กับงานสารสนเทศอยู่ตลอดเวลา ทำให้วงการวิชาชีพหันมาปรับปรุงกลไกในวิชาชีพของตนให้ทันกับสังคมสารสนเทศ เพื่อให้ทันต่อกระแสโลก จึงทำให้เกิดการบริการรูปแบบใหม่ๆ ขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการส่งข่าวสาร SMS หรือการโหลดเพลงผ่านเครือข่ายโทรศัพธ์มือถือ นอกจากนี้หน่วยงานต่างๆ ยังได้สร้างระบบงานสารสนเทศในหน่วยงานของตนเองขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น การทำเว็บไซด์ของหน่วยงานเพื่อใช้ประโยชน์จากสารสนเทศเหล่านั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างกว้างขวางและคุ้มค่า โดยสารสนเทศเข้ามามีบทบาทในการจัดทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อใช้ในการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา หรือการตัดสินใจ เพื่อการวางแผนและการจัดการ
ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีบทบาทและความสำคัญมากในปัจจับัน และมีแนวโน้วที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการดำเนินงานสารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นับตั้งแตการผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้ การสื่อสารสารสนเทศ การแลกเปลี่ยนและใช้ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกันให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ (สุนทร แก้วลาย. 2531:166) พอสรุปได้ดังนี้
1.ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาสารในแต่ละวัน
2.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ
3.การจัดเรียงลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
4.ช่วยในการจัดเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่เรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
5.ช่วยในการจัระบบอัติโนมัติ เพื่อการจัดเก็บ การประมวลผล และการเรียกใชสารสนเทศ
6.ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
7.ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง โดยใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
ที่มาhttp://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=basbasic&month=10-2007&date=05&group=4&gblog=4


บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้น สิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก การเดินทางเชื่อมโยงถึงกันทำให้ประชากรในโลกติดต่อรับฟังข่าวสารกันได้ตลอดเวลา

พัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทอย่างมาก บทบาทของการพัฒนาเทคโนโลยีรวดเร็วขึ้นเมื่อมีการพัฒนาอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ จะเห็นได้ว่าในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้าไปเกี่ยวข้องให้เห็นอยู่ตลอดเวลา

ในช่วง พ.ศ.2523 เป็นต้นมา ความเจริญก้าวหน้าทางด้านคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสารข้อมูลเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลข้อมูลเป็นไปอย่างกว้างขวาง มีการส่งถ่ายข้อมูลระหว่างกันเป็นจำนวนมาก เกิดการประยุกต์งานด้านต่าง ๆ เช่น ระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ การใช้โทรสาร (facsimile) ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail)

ชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ที่มีบทบาทเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2528 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดให้มีการเรียนคอมพิวเตอร์จากเดิมเป็นวิชาเลือก แต่ในปัจจุบัน ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2542 กำหนดให้นักเรียนทุกคนต้องเรียน เพื่อให้เยาวชนทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยีสารสนเทศ และนำไปประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม
ที่มาhttp://203.154.140.2/ict1/1/page_1.htm

วันจันทร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สมุนไพรรักษาโรค

กลุ่มยาลดไขมันในเส้นเลือด
กระเจี๊ยบแดง

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hibiscus sabdariffa L.
ชื่อสามัญ : Jamaican Sorel, Roselle
วงศ์ : Malvaceae
ชื่ออื่น : กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ย ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง ส้มตะเลงเครง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม สูง 50-180 ซม. มีหลายพันธุ์ ลำต้นสีม่วงแดง ใบเดี่ยว รูปฝ่ามือ 3 หรือ 5 แฉก กว้างและยาวใกล้เคียงกัน 8-15 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกสีชมพูหรือเหลืองบริเวณกลางดอกสีม่วงแดง เกสรตัวผู้เชื่อมกันเป็นหลอด ผลเป็นผลแห้ง แตกได้ มีกลีบเลี้ยงสีแดงฉ่ำน้ำหุ้มไว้
สรรพคุณ :
กลีบเลี้ยงของดอก หรือกลีบที่เหลืออยู่ที่ผล
เป็นยาลดไขมันในเส้นเลือด และช่วยลดน้ำหนักด้วย
ลดความดันโลหิตได้โดยไม่มีผลร้ายแต่อย่างใด
น้ำกระเจี๊ยบทำให้ความเหนียวข้นของเลือดลดลง
ช่วยรักษาโรคเส้นโลหิตแข็งเปราะได้ดี
น้ำกระเจี๊ยบยังมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ เป็นการช่วยลดความดันอีกทางหนึ่ง
ช่วยย่อยอาหาร เพราะไม่เพิ่มการหลั่งของกรดในกระเพาะ
เพิ่มการหลั่งน้ำดีจากตับ
เป็นเครื่องดื่มที่ช่วยให้ร่างกายสดชื่น เพราะมีกรดซีตริคอยู่ด้วย
ใบ แก้โรคพยาธิตัวจี๊ด ยากัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำคอ ให้ลงสู่ทวารหนัก
ดอก แก้โรคนิ่วในไต แก้โรคนิ่วในกระเพราะปัสสาวะ ขัดเบา ละลายไขมันในเส้นเลือด กัดเสมหะ ขับเมือกในลำไส้ให้ลงสู่ทวารหนัก
ผล ลดไขมันในเส้นเลือด แก้กระหายน้ำ รักษาแผลในกระเพาะ
เมล็ด บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง แก้ดีพิการ ขับปัสสาวะ ลดไขมันในเส้นเลือด
นอกจากนี้ได้บ่งสรรพคุณโดยไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด ดังนี้คือ แก้อ่อนเพลีย บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ แก้ดีพิการ แก้ปัสสาวะพิการ แก้คอแห้งกระหายน้ำ แก้ความดันโลหิตสูง กัดเสมหะ แก้ไอ ขับเมือกมันในลำไส้ ลดไขมันในเลือด บำรุงโลหิต ลดอุณหภูมิในร่างกาย แก้โรคเบาหวาน แก้เส้นเลือดตีบตัน นอกจากใช้เดี่ยวๆ แล้ว ยังใช้ผสมในตำรับยาร่วมกับสมุนไพรอื่น ใช้ถ่ายพยาธิตัวจี๊ด
วิธีและปริมาณที่ใช้ : โดยนำเอากลีบเลี้ยง หรือกลีบรองดอกสีม่วงแดง ตากแห้งและบดเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนชา (หนัก 3 กรัม) ชงกับน้ำเดือด 1 ถ้วย (250 มิลลิลิตร) ดื่มเฉพาะน้ำสีแดงใส ดื่มวันละ 3 ครั้ง ติดต่อกันทุกวันจนกว่าอาการขัดเบาและอาการอื่นๆ จะหายไปสารเคมี ดอก พบ Protocatechuic acid, hibiscetin, hibicin, organic acid, malvin, gossypetinคุณค่าด้านอาหาร น้ำกระเจี๊ยบแดง มีรสเปรี้ยว นำมาต้มกับน้ำ เติมน้ำตาล ดื่มแก้ร้อนใน กระหายน้ำ และช่วยป้องกันการจับตัวของไขมันในเส้นเลือดได้ และยังนำมาทำขนมเยลลี่ แยม หรือใช้เป็นสารแต่งสี ใบอ่อนของกระเจี๊ยบเป็นผักได้ หรือใช้แกงส้ม รสเปรี้ยวกำลังดี กระเจี๊ยบเปรี้ยวมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "ส้มพอเหมาะ" ในใบมี วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา ส่วนกลีบเลี้ยงและกลีบดอก มีสารแคลเซียม ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง น้ำกระเจี๊ยบแดงที่ได้สีแดงเข้ม สาร Anthocyanin นำไปแต่งสีอาหารตามต้องการ